หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา
วัดบางนมโค
วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่ามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดินชื่อวัดนมโค ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2310 ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่นพม่า ก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอา วัว ควาย จากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโคจึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโค
อาณาเขตของวัดบางนมโค
วัดบางนมโคมีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ 21 วา 3 งาน ทิศตะวันออกจดที่ดินเลขที่ 163 ทางสาธารณะประโยชน์ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 134 มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ 162, 163, 165 ทางสาธารณะประโยชน์
ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค
เจ้าอาวาสวัดบางนมโค จะมีกี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐานก็ตั้งแต่
1. เจ้าอธิการคล้าย
2. พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. 2478
3. ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) โสนันโท รับตำแหน่งเจ้าอาวาส
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง 2 ปี ก็มรณภาพลง
เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2480
4. พระอธิการเล็ก เกสโร
5. พระอธิการเจิม เกสโร
6. พระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ)
7. พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน
8. พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) ได้รับการอาราธนามาเป็น
เจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
ไปวัดบางนมโค ไปได้หลายเส้นทาง
เส้นทางที่ ๑ ไปทางด่วน ขึ้นจุดไหนก็ได้ปลายทาง บางปะอิน ผมไปจากบ้านลาดพร้าว ขึ้นทางด่วน แจ้งวัฒนะ - บางปะอิน พอสุดทางด่วนก็ออกเฉียงไปทางซ้าย ไปบรรจบกับถนนสาย ๙ แล้วเลี้ยวซ้ายไป พอถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หากจะไปเที่ยวศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ และศูนย์ส่งเสริม ฯ บางไทร ก็กลับรถใต้สะพานตรงไปแล้วเลี้ยวซ้าย เมื่อเที่ยวศูนย์ ฯ แล้วจะเลี้ยวซ้ายไปอยุธยาเลยก็ได้ แต่จะไกลหน่อย
ส่วนเมื่อออกจากทางด่วนเลี้ยวเข้าถนนสาย ๙ แล้ว จะตรงมายังวัดบางนมโคเลย ก็ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา พอลงสะพานชิดซ้ายแล้วออกทางซ้าย ตามป้ายเสนาไปลงถนนสาย ปทุมธานี - เสนา วิ่งมานิดหนึ่งมีปั๊มบางจากทางขวามือ หากจะลองชิม "หอยครก" ก็เลี้ยวขวาข้างปั๊มบางจาก หากยังไม่หิวจะรีบไปวัด ไปกินอาหารที่ตลาดบ้านแพน หรือตลาดอำเภอเสนา ก็ไม่ต้องเลี้ยวไป ตรงเรื่อยไปจนถึงสี่แยก ที่สี่แยกนี้หากเลี้ยวซ้ายจะไป ตลาดอำเภอเสนา หากตรงไปจะไป อ.ผักไห่ ถ้าเลี้ยวขวามาประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็จะพบป้ายวัดบางนมโค ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังวัด ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย
เส้นทางที่ ๒ มาจากกรุงเทพ ฯ ผ่านรังสิตแล้วเลี้ยวซ้ายไป ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปปทุมธานี ข้ามสะพานแล้ววิ่งไปถึงสี่แยก หากตรงไปก็จะไปบรรจบกับถนน ๓๔๐ ไปสุพรรณบุรี ถ้าเลี้ยวซ้ายก็เข้าตัวอำเภอเมืองปทุมธานี ให้เลี้ยวขวาตรงเรื่อยไปผ่านอำเภอสามโคก แล้วจะซ้ำกับเส้นทางแรกเมื่อข้ามสะพานข้ามถนนสาย ๙ หากไปตามเส้นทางนี้ก็เข้าไปเที่ยวในตัวเมืองปทุมธานีก่อนก็ได้ และระหว่างทางไปสามโคกจะมีวัดมอญอยู่หลายวัด ล้วนแต่วัดใหญ่ ๆ และริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เส้นทางที่ ๓ จากกรุงเทพ ฯ ไปเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเอเซีย ก่อนถึงทางแยกเข้าอำเภอพระนครศรีอยุธยาจะมีทางเลี่ยงเมือง หากต้องการตรงไปยังวัดบางนมโคเลย ก็ไปตามถนนสายเลี่ยงเมือง ถนนจะไปบรรจบกับถนนสายเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา - เสนา - บรรจบสาย ๓๔๐ เมื่อบรรจบกับถนนสายนี้แล้ว วิ่งตรงไป ๑๙ กม. จะผ่านวัดวรเชษฐ ที่มุมซ้ายตรงสี่แยก วัดนี้สันนิษฐานกันว่า อาจจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ สร้างเพื่อถวายพระเพลิงศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ก็ไม่แน่นอนเพราะในตัวเกาะ
ข้อมูลประวัติ
เกิด วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 เพื้นเพเป็นคน ต.บางนมโค เป็นบุตรของ นายอาจ นางอิ่ม สุทธาวงศ์
อุปสมบท ณ วัดบางปลาหมอ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2438 ณ วัดบางปลาหมอ
มรณภาพ วันที่ 26 กรกฎาคม 2481
รวมสิริอายุ 63 ปี 43 พรรษา พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
ชาติภูมิของโสนันโทเถระ ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16กรกฎาคม 2418 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า "ปาน" เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว
หลวงพ่อปานในวัยเด็ก
พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า"...ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก 3-4 ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้น เขามีทาสกันที่บ้านท่านก็มีทาส ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก 2-3 โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้วท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟังเขาว่าอรหันกันทำไม พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือนพอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไปเขาจะหาว่า ไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น พอมาถึงตอนเย็นเวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือ เรียกลูกกินข้าว
เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเอาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลบปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆ ว่า อรหัง อรหัง ว่า 2- 3 คำ
ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวดจับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกนสุดเสียง เอ้า จะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่าอรหังที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหังที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย" ท่านแปลกใจคิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกันในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหันหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้...แต่ว่าแม่ของฉันนี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทธโธ อรหันเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน....
สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่านขานนาคเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เป็นอย่างน้อยท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไรถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่ง เรียกกันว่า ทาส ชื่อว่า พี่เขียว อายุประมาณ 25 ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่
ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัวทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้บอกว่า "พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก" พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ 2 กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมาหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่าน ก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า "ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร" เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้วก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกังที่ท่านตั้งใจทุกประการ
สู่ร่มกาสาวพัสตร์
หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2438 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า "โสนันโท"
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ พระเนื้อดินเผา พิมพ์ทรงสัตว์ ได้แก่ พิมพ์ทรงไก่ ทรงครุฑ ทรงเม่น ทรงปลา ทรงนก ซึ่งในแต่ละกลุ่มพิมพ์ยังแยกเป็นพิมพ์อื่น ๆ อีก และกลุ่มพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มพิมพ์ทรงไก่ และที่นิยมน้อยได้แก่ พิมพ์ทรงนก
ข้อมูล p.moohin.com/131.shtml
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
0 comments
Post a Comment